วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มะเร็ง

มะเร็ง คือ มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เซลล์เจริญ(แบ่งตัว) อย่างผิดปกติ โดยเซลล์มะเร็งจะไม่ถูกควบคุมโดยกลไกใดๆในcell cycle และสามารถรุกรานเนื้อเยื่อข้างเคียง หรืออาจแพร่กระจายไปยังที่อื่น ๆถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะ เรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

มะเร็งที่พบบ่อยในประชากรไทย
เพศชาย => มะเร็งตับและมะเร็งปอด
เพศหญิง => มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
มะเร็งต่าง ๆ ที่สามารถรักษาให้หายได้ในปัจจุบันนี้ ที่สำคัญ มีดังนี้ 

มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดลิมป์โฟไซติค ลิวคีเมีย 
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอร์ดกิ้น 
มะเร็งไตในเด็กชนิด วิมส์ ทูเมอร์ 
มะเร็งลูกอัณฑะ 
มะเร็งกระดูก ชนิด อ๊อสติโอเจนนิค ซาร์โคม่า 
มะเร็งรังไข่ชนิดเนื้อเยื่อบุผิว 
มะเร็งผิวหนังบางชนิดเช่น Basal cell carcinoma 
มะเร็งเต้านม 
มะเร็งปอดชนิด Small cell 
มะเร็งหลังโพรงจมูก 
มะเร็งชนิดเนื้อเยื่อ Germ cell

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง ที่สำคัญ มี 2 ข้อ
ข้อแรก คือ ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อน ในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม ยารักษาโรค เป็นต้น รวมทั้งการได้รับรังสี เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และพยาธิบางชนิด
ข้อที่สอง คือ ได้แก่ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะทุพโภชนา เป็นต้น




ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง มีดังนี้
1. ผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของระบบหายใจ ได้แก่ ปอด และกล่องเสียง เป็นต้น
2. ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ ถ้าทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่จัด จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากและในลำคอด้วย
3. ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มี สารพิษ ชื่อ อัลฟาทอกซิล ที่พบจากเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารเช่น ถั่วลิสงป่น เป็นต้น หากรับประทานประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ และหากได้รับทั้ง 2 อย่าง โอกาส จะเป็นมะเร็งตับมากขึ้น
4. ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ เยื่อบุมดลูก และต่อมลูกหมาก
5. ผู้ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ และรับประทานอาหารที่ใส่ดินประสิวเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ
6. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอันเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรมหรือติดเชื้อไวรัสเอดส์ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งของหลอดเลือด เป็นต้น
7. ผู้ที่รับประทานอาหารเค็มจัด อาหารที่มีส่วนผสมดินประสิวและส่วนไหม้เกรียม ของอาหารเป็นประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่
8. ผู้ที่มีประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว อาทิ มะเร็งของจอตา มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดที่เป็นติ่งเนื้อ เป็นต้น
9. ผู้ที่ตากแดดจัดเป็นประจำจะได้รับอันตรายจากแสงแดดที่มีปริมาณของแสงอุลตรา ไวโอเลต จำนวนมาก มีผลทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้

โรคหัวใจ (Cadiovascular disease)
1.ภาวะหลอดเลือดแดงตีบตัน (Atherosclerosis) คือการอักเสบเรื้อรังของเส้นเลือดที่ทำให้หลอดเลือดมีความหนาตัวขึ้น มีไขมันและหินปูนไปเกาะ มีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญของร่างกายไม่เพียงพอ บริเวณพื้นผิวภายในของหลอดเลือดที่มีไขมันไปเกาะอยู่ เรียกว่า plaque ซึ่งบางครั้งจะเกิดการแตกของ plaque และตามมาด้วยการเกาะของเกล็ดเลือด ส่งผลให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดโดยเฉียบพลัน และทำให้มีภาวะขาดเลือดของอวัยวะที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น ภาวะหัวใจหรือสมองขาดเลือด
 ในภาวะเส้นเลือดหัวใจอุดตัน ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นที่หน้าอกอย่างรุนแรง ลักษณะเป็นอาการเจ็บแน่น ๆ อาจร้าวไปที่ไหล่ซ้าย หรือกรามด้านซ้าย อาการอาจเป็นชั่วขณะ แล้วหายไปเอง หรือ อาจเป็นรุนแรงถึงขั้นกล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจหยุดเต้นได้

ในภาวะเส้นเลือดสมองอุดตัน ผู้ป่วยจะมีอาการอัมพาตซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ซึ่งอาจเป็นชั่วคราวหรือถาวร ผู้ป่วยบางคนจะมีอาการทรงตัวไม่ได้ หรือควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ และบางรายก็จะมีอาการสมองเสื่อมเกิดขึ้น

                   2. STROKE คือการเกิดภาวะบกพร่องของระบบประสาทเฉพาะที่อย่างฉับพลันทันใด ซึ่งเป็นผลมาจากการเกิดมีเลือดออกในสมองหรือการที่สมองขาดเลือด
การป้องกัน
                                ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดัน ต้องได้รับการรักษา
                                ให้ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
                                ลดไขมันในเลือด
                                รักษาโรคหัวใจที่เป็นอยู่

3. โรคความดันโลหิตสูง  (Hypertension) ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีความดัน systolic มากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท

และมีความดัน diastolic มากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท

สาเหตุของความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่านใหญ่ไม่ทราบสาเหตุเรียก primary หรือ essential hypertension  เราสามารถควบคุมความดันโลหิตได้แต่รักษาไม่หายดังนั้นจึงจำเป็นต้องป้องกัน ส่วนที่ทราบสาเหตุเรียก secondary hypertension เช่น เนื้องอกต่อมหมวกไต ยาคุมกำเนิด หากทราบสาเหตุสามารถรักษาให้หายขาดได้

 

การรักษาความดันโลหิตสู
1.                            ตรวจวัดความดันเป็นระยะ
2.                            รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการลดน้ำหนักลง 10% สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
3.                            งดอาหารเค็มหรือเกลือไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรับต่อวัน
4.                            รับประทานอาหารไขมันต่ำ
5.                            งดการสูบบุหรี่
6.                            รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
7.                            ไปตามแพทย์นัด
8.                            ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำโดยการออกกำลังวันละ 30-45 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วัน
9.                            รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียม
10.      แนะนำให้พาพ่อแม่พี่น้องและลูกไปตรวจวัดความดันโลหิต





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น