วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ระบบต่อมไร้ท่อ

ต่อม(Gland) คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่สร้างและหลั่งสาร
ต่อม มี 2 ประเภท
1.ต่อมมีท่อ คือ ต่อมที่มีท่อเฉพาะรองรับและลำเลียงสารที่ถูกหลั่งออกมาไปยังอวัยวะเป้าหมาย
2.ต่อมไร้ท่อ คือ ต่อมที่ไม่มีท่อเฉพาะลำเลียงสารที่ถูกหลั่งออกมา แต่จะลำเลียงสารที่ถูกหลั่งผ่านทางเส้นเลือดปยังอวัยวะเป้าหมาย
ฮอร์โมน คือ สารที่ถูกหลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อและถูกลำเลียงไปยังอวัยวะเป้าหมายเพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมาย
ต่อมไร้ท่อและฮอร์โมนที่สำคัญ
1.                   ต่อมใต้สมอง(Pituitary gland)
1.1   ต่อมใต้สมองส่วนหน้า  เป็น ต่อมไร้ท่อที่ถูกควบถูกโดยฮอร์โมนจากสมองส่วนhypothalamus
สร้างฮอร์โมนที่สำคัญดังนี้
-          Growth Hormone : ฮอร์โมนนี้หลั่งขณะหลับมากกว่าตื่น ดังนั้นผู้ที่นอนดึกจึงหลั่งgrowth hormone น้อยกว่าปกติ หน้าที่ของฮอร์โมนชนิดนี้คือ เพิ่มความยาวของกระดูก และ สลายไกลโคเจนในตับเป็นกลูโคส
ถ้าร่างกายขาด GH ในเด็ก ทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ (สติปัญญาปกติ) เรียก Dawrfism ในผู้ใหญ่ มีอาการผอมแห้ง น้ำตาลในเลือดต่ำ มีภาวะทนต่อความเครียด (stess) สูงเรียกว่า Simmom’s disease
ถ้าร่างกายมี GH มากเกินไป ในวัยเด็ก จะทำให้ร่างกายเติบโตสูงใหญ่ผิดปกติ น้ำตาลในเลือดสูง ทนต่อความเครียดได้น้อย เรียกว่า Gigantism ในผู้ใหญ่ กระดูกขากรรไกร คางจะยาวผิดปกติ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าโต จมูกใหญ่ ฟันใหญ่ และห่างเรียก Acromegaly
-         Prolactin : ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญของต่อมน้ำนมในเพศหญิง และกระตุ้นการหลั่งน้ำนมในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด
-         Gonadotrophin : แบ่งเป็น FSH และ LH โดยที่ FSH จะกระตุ้นการสร้างสเปิร์มในเพศชายและการเจริญของไข่ในเพศหญิง ส่วน LH จะกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชาย(เพิ่มความเป็นชาย)ให้เพศชายและกระตุ้นการตกไข่ในเพศหญิง
-         Thyrotrophin : ทำหน้าที่กระตุ้น thyroid follicular cellให้หลั่งthyroxine
-          Adrenocorticotrophin : ทำหน้าที่กระตุ้นต่อมหมวกไตส่วนนอกให้หลั่งฮอร์โมนของมัน
-         MSH : กระตุ้นเซลล์เม็ดสี ให้กระจายเม็ดสีทำให้สีเข้มขึ้น
1.2                        ต่อมใต้สมองส่วนหลัง เป็นส่วนของสมองส่วนhypothalamus ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้สร้างฮอร์โมน ทำหน้าที่เพียงเก็บและหลั่งฮอร์โมนที่ถูกสร้างจาก hypothalamus เก็บฮอร์โมนที่สำคัญดังนี้
-      Oxytocin ทำให้กล้ามเนื้อมดลูก เต้านม กระเพาะปัสสาวะมีการหดตัว ฮอร์โมนนี้จะมีการหลั่งออกมาตอนคลอดลูกและในขณะร่วมเพศ แต่ถ้าหลั่งออกมามากก่อนคลอดจะทำให้แท้งลูกได้
-      Vasopressin
หรือ Antidiuretic hormone ( ADH ) ทำให้เส้นเลือดมีการหดตัวช่วยให้ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับคืน ทำให้ลดการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ที่จำเป็น ถ้าร่างกายขาดจะปัสสาวะมากทำให้เกิดโรคเบาจืด( diabetes inspidus) 
2. Pineal Gland เป็นต่อมไร้ท่อที่ตอมสนองต่อแสง โดยจะหลั่งฮอร์โมนมากเวลามีแสงน้อย ต่อมไร้ท่อนี้สร้างฮอร์โมนที่สำคัญคือ melatonin ทำหน้าที่ยับยั่งการเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์ และ ควบคุม biological clock
3. Thyloid และ parathyloid Gland
 - ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนที่สำคัญคือ thyroxine  ซึ่งช่วยเร่งอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย ฮอร์โมนนี้จำเป็นต่อการเจริญและการพัฒนาการของร่างกายโดยเฉพาะสมอง ถ้าขาดฮอร์โมนไทรอกซิน ในเด็กจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง สติปัญญาไม่ดี อวัยวะเพศไม่เจริญ ร่างกายเตี้ยแคระ เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า Cretinism ส่วนในผู้ใหญ่จะมีอาการเหนื่อยง่าย ซึม อ้วนง่าย ผมและผิวหนังแห้ง ความจำเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉื่อยชา เรียกกลุ่ม อาการนี้ว่า Myxedema นอกจากนี้การขาดธาตุไอโอดีน ยังมีผลทำให้ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอกซินได้ ส่งผลให้เป็น โรคคอพอก ( Simple goiter หรือ endemic goiter) เพราะเมื่อร่างกายขาดไทรอกซิน จะมีผลให้ Hypotalamus หลั่งสารเคมีมากระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมน TSH ส่งมาที่ต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ เมื่อต่อมถูกกระตุ้นจึงมีขนาดขยายโตขึ้น การสร้างฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะทำให้เกิดโรค Grave’s disease ในเด็กจะมีอาการตัวสั่น ตกใจง่าย แต่คอไม่พอก ส่วนในผู้ใหญ่จะเกิดอาการคอพอกเป็นพิษ (toxin goiter หรือ exophthalmic goiter ) ต่อมมีขนาดใหญ่ มีฮอร์โมนมาก อัตราเมแทบอลิซึมจะสูง นานไปจะมีการสะสมสารเคมีบางชนิดในเบ้าตาทำให้ตาโปน
การควบคุมแคลเซียมไอออนในกระแสเลือด
-ถ้าcalciumในกระแสเลือดมีมากเกิน ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนcalcitonin ซึ่งจะลดการดูดกลับcalciumที่ไตและนำcalciumไปเก็บที่กระดูก
-ถ้าcalciumในกระแสเลือดมีน้อยเกิน ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนParathormone ซึ่งจะเพิ่มการดูดกลับcalciumที่ไตและลำไส้ใหญ่และดึงcalciumออกจากกระดูก หากขากparathormone จะส่งผลให้เกิดอาการชัก(tetanus)
4. Thymus Gland : สร้างฮอร์โมนthymocinทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญของT-cell (ภูมิคุ้มกันร่างกายชนิดหนึ่ง)
5. ไต: สร้างฮอร์โมน erythropoiethin ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
6. Islet of Langerhans : มีเซลล์สร้างฮอร์โมน2ชนิดคือ alpha cell และ beta cell โดยalpha cell สร้างฮอร์โมน glucagon ทำหน้าที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดโดยการสลายglycogenในตับเป็นglucose ส่วน beta cell สร้างฮอร์โมนinsulin ทำหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยการนำglucoseไปสร้างเป็นglucagonและนำเข้าเซลล์อื่นๆให้เซลล์ใช้งาน
7. Adrenal Gland แบ่งเป็น adrenal cortex และ adrenal medulla
- adrenal cortex : สร้างฮอร์โมนจำพวกสเตอรอยด์  ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้มีหน้าที่อยู่ 3อย่างคือ 1. เพิ่มระดับน้ำตลในเลือดเช่น Cortisol 2. ควบคุมสมดุลแร่ธาตุ เช่น Aldosterone เพิ่มการดูดกลับโซเดียมที่ท่อหน่วยไต 3. สร้างฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งสร้างได้ในทั้งผู้ชายและผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงบางคนอาจจะแสดงลักษณธเพศชายได้ เช่น การมีหนวดเครา
- adrenal medulla : สร้างฮอร์โมนจำพวกอะมิโน ได้แก่ adrenaline และ noradrenaline ทำหน้าที่ เพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด และ เป็นสารสื่อประสาทในระบบประสาทซิมพาเทติก
8. Gonad sex hormone : มีฮอร์โมนที่สำคัญดังนี้
                8.1 Testosterone ทำหน้าที่กระตุ้นลักษณะทางเพศชายและการสร้างsperm
                8.2 Estrogen ทำหน้าที่กระตุ้นลักษณะทางเพศหญิงและการซ่อมแซมผนังมดลูก ทำให้มีเต้านมใหญ่
                8.3 Progestin หน้าที่รักษาความหนาของผนังมดลูกให้เหมาะสม
9. Digestive system hormone มีฮอร์โมนที่สำคัญดังนี้
                9.1 Gastrin สร้างจากกระเพาะ ทำหน้าที่เพิ่มการทำงานของกระเพาะ
                9.2 Cholecystokinin สร้างจาก duodenum ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งenzymeจากตับอ่อนและการหลั่งน้ำดีจากตับ
                9.3 secretin สร้างจาก duodenum ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่ง โซเดียมไบคาร์บอเนตจากตับอ่อน
                9.4 GIP สร้างจากduodenum ทำหน้าที่ยับยั่งการทำงานของกระเพาะ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น